วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย

วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพุทธศาสนา เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยทุกคนที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย ถือเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทยที่แตกต่างจากชาติอื่น มีลักษณะเฉพาะที่แสดงชี้ชัดถึงความเป็นไทย เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกมาทางพิธีกรรม ศิลปะแขนงต่างๆ บุคลิกภาพของคนไทยที่รักสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้ำใจ จนได้รับความชื่นชมจากต่างชาติ ถึงแม้วัฒนธรรมไทยจะมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างชาติตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน แต่ก็ได้เลือกสรรเอาสิ่งที่ดีมาใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์ ศาสนา ศิลปกรรม ภาษา อาหาร การแต่งกาย ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว 

ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรม
ปัจจัยที่เกื้อหนุนวัฒนธรรม
1. สอดคล้องหรือเข้ากับความประพฤติที่มีอยู่เดิม
2. อิทธิพลของศาสนา คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อคนไทยมาก
3. การเห็นคุณประโยชน์ หากประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าทำแล้วได้ประโยชน์ ประชาชนจะรักษาและปฎิบัติตามวัฒนธรรมนั้นๆ
4. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มที่ต้องรักษาวัฒนธรรมของตน บุคคลเหล่านี้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นของดีอยู่แล้ว จึงพยายามส่งเสริมและคัดค้านการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ทำลายวัฒนธรรมที่ตนเห็นว่าดี และจะสนับสนุนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้วัฒนธรรมที่ตนส่งเสริมนั้นดีขึ้น
5. ตัวแทนของวัฒนธรรม
6. สภาพทางเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจรุ่งเรือง ไม่ขาดแคลน คนจะมีจิตใจสบาย ความปกติสุขจะเกิดขึ้น คนจะอยู่อย่างสงบหรือพยายามอยู่ให้ดีขึ้น โดยสิ่งใดดีมักจะรับไว้เ วัฒนธรรมจึงดำรงอยู่ได้ และอาจมีวัฒนธรรมที่ใหม่และดียิ่งขึ้น

ปัจจัยที่บั่นทอนวัฒนธรรม
1. ความรู้สึกหรืออารมณ์ เป็นความรู้สึกผูกพันกับสิ่งเก่าๆ ความเคยชิน
2. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มที่ต่อต้านวัฒนธรรมใดก็ตามที่ทำให้ตนเสียผลประโยชน์
3. ทัศนคติ หรือเจตคติ แม้จะเห็นว่าวัฒนธรรมนั้นดี แต่ไม่เต็มใจรับเพราะเห็นว่ายุ่งยากลำบากหรือไม่คุ้นเคย
4. การไม่เห็นคุณประโยชน์ของวัฒนธรรม เพราะไม่เห็นผลทันตา
5. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
6. สภาพทางเศรษฐกิจ สภาพความแร้นแค้นยากจนก่อให้เกิดปัญหาเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรม

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการขนส่งคมนาคม ทำให้การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม(Cultural Diffusion) 
หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชียด้วยแล้ว สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิทธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้ 
1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดินทางสะดวก การเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น 
2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ 
3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษาเล่าเรียน เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่

การเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง


อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย เข้ามามีอิทธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
- ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคม มีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
- ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
2. ทางการเมือง 
- สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
- สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอิทธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ (ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2475 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศในยุโรป 
3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด
4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบ ทุติยภูมิ

วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย 

พระพุทธรูป พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กฏหมายตราสามดวง

1. การเมืองการปกครอง กษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์ เกิดระบบเจ้าขุนมูลนาย ส่วนประมวลกฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียนั้น เป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
2. ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
3. ภาษาและวรรณกรรม รับภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษา แต่ไม่ได้ใช้พูด ไม่มีอิทธิพลเหมือนภาษาตะวันตก วรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะ มหาภารตยุทธ และพระไตรปิฎก
4. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง ท่าร่ายรำต่าง ๆ 


วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย 


จีนเข้ามาสมัยกรุง สุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาโดยเข้ามาค้าขาย ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีน จนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย อิทธิพลวัฒนธรรมจีนต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
1. ความเชื่อทางศาสนา เป็นการผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า ส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
2. ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
3. ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทย เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ สามก๊กอำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
4. วัฒนธรรมอื่น ๆ มีอาหารจีน และ "ขนมจันอับ" ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทย ใช้ในพิธี ก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ย ผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น

วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
ด้วยลักษณะของอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่แฝงมาในรูป ต่างๆ ตามสื่อมวลชนภาพยนต์ ซึ่งเราบริโภคอยู่จนคิดว่าเป็นวัฒนธรรมสากล จนหลงไปว่าเป็นอารยธรรม จนทำให้เราหลงลืมภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ดีงามไป และมีอิทธิพลต่อวิธีคิดวิธีทำงานของพวกเราเป็นอย่างมาก จนยากที่จะถอนออกไปได้ ซึ่งพอสรุปเป็นเรื่องหลักๆ ได้ 3 ประการคือ ความเป็นปัจเจกบุคคล การแข่งขัน และการมองโลกแบบเครื่องจักร
ความเป็นปัจเจกนำไปสู่การเห็นแก่ตัวขาดความสัมพันธ์กับ สิ่งรอบตัว ทำให้ไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ที่ควรจะเป็นไม่สามารถที่จะรวมพลังกันที่จะทำ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้น การแข่งขันที่ไม่ใช่เฉพาะแข่งดี แต่เป็นการแข่งกันทำลายล้างกันในขณะเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากความพยายามที่จะพิชิตโลกที่จะเป็นหนึ่งอันก่อให้เกิดการ ทำลายสิ่งแวดล้อม เบียดเบียนเพื่อมนุษย์ด้วยกันอย่างไม่รู้ตัว และการมองโลกแบบเครื่องจักร ที่คิดให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเครื่องจักรที่ควบคุ้มด้วยกฏเกณฑ์ทางฟิสิกส์ แบบนิวตัน ซึ่งก่อให้เกิดความซับสนและความขัดแย้ง ไม่สามารถที่จะเห็นถึงผลกระทบในองค์รวม และความสัมพันธ์เชื่อมโยง ซึ่งสิงที่เห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือเราไม่สามารถที่จะอยู่ในโลกนี้ได้ อย่างมีความสุขและสมานฉันท์
ด้วยแนวคิดตามความเชื่อดังกล่าวยังคงมีอิทธิพลต่อสังคม และองค์กรอยู่ทุกหัวระแหง ทำให้ยิ่งมีการพัฒนาก็ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องมากมาย และก็ยังคงดำรงสภาพนี้ต่อไปถ้าหากไม่ทำอะไรที่จะแก้ปํญหา ผู้นำจะต้องออกมาช่วยเหลือในส่วนนี้ โดยสร้างการมีส่วนร่วม และสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น ผู้นำอย่างได้เป็นปํญหาเสียเอง ซึ่งทุกวันนี้ผู้นำยุคปัจจุบันยังคงวนเวียนกับการที่ไม่รู้ว่าจะทำงานร่วม กันอย่างไร การจัดหาสรรหา สิ่งที่จำเป็นและต้องการอย่างรวดเร็วได้อย่างไร และจะทำงานให้บรรลุผลตรงตามจุดประสงค์เป้าหมายได้อย่างไร เราต้องเปลี่ยนแนวคิดจากสิ่งที่ทำให้เราอยู่แยกกัน และแบ่งแยกทุกสิ่งทุกอย่าง ให้มีพฤติกรรมองค์กรใหม่อย่างเร่งด่วน ในการเรียนรู้ การทำงานร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง เปลี่ยนการมองแบบเครื่องจักรมาเป็นแนวคิดที่ยืดหยุ่น
ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในปัจจุบัน


ด้านการพิมพ์ เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2387 ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น ในด้านการสื่อสารคมนาคม เช่น การสร้างถนน สะพาน โทรทัศน์ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่นประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์ จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา
5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น
โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟ การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง เป็นทหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
ฮอลันดาเข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศรวรมหาราช อาคารที่ฮอลันดาสร้าง ไทยเรียกว่า "ตึกวิลันดา" นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้ว กล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา
อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์ มีต่ำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้านการแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
ในสมัยอยุธยาตอนปลายความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลงและหยุดชะงักไปใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูต เพราะตะหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายใน วัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมวงศานุวงศ์ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฎิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ตั้งธนาคารแห่งแรก คือ บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
3. ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลานมาเป็นแสดงความเคารพ ให้นั่งเก้าอี้แทน เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย จัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง เด็กชาย 
สรุปได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาตั้งแต่สุโขทัย ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความรัก ความสามัคคีและสงบสุข อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน คือ
1. มีวัฒนธรรมดังเดิมเป็นของตนเอง
2. รับเอาวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม 

วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคน ไทย เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
1. ด้านอักษรศาสตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากอินเดีย เขมร นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทย มากขึ้น
2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ เช่น ทวารวดี หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือสุโขทัย รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัย อยุธยาเป็นต้นมา
4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์ มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น ราชาธิราชของชาวมอญ อาหรับราตรีของเปอร์เซีย เป็นต้น
5. ด้านศิลปวิทยาการ เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา
6. ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น

อิทธิพลของทุนนิยม ต่อวัฒนธรรมและสังคม
มนุษย์ ทั้งหลายที่อยู่ในชาติต่างๆ ล้วนแต่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองทั้งสิ้น แต่ละสังคมต่างก็สร้างวัฒนธรรมให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมของตน ดังนั้นวัฒนธรรมคือวิถีชีวิต เป็นรูปแบบแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมนั้นๆ หากย้อนไปในอดีต โดยเริ่มแรกนั้นสังคมไทยเป็นสังคมเกษตร แน่นอนว่ามีวัฒนธรรมของตนเองและสามารถยืนหยัดอยู่บนความเป็นเอกราชได้อย่าง เต็มภาคภูมิ แต่ที่สำคัญขณะนี้ประเทศไทยอยู่ภายใต้เงามืดของทุนนิยมจนทำให้เกิดสภาวะ การณ์ที่เรียกว่า "วิกฤตการณ์ทางวัฒนธรรม" ใน สังคมไทย ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนต่างๆของสังคมไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในความเปลี่ยนแปลงของทุกสถาบันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสถาบันครอบครัว การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา และด้านอื่นๆอีก ที่กล่าวมานี้ล้วนมีอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อให้สอดคล้องและ ปรับปรุงตามสภาพของสังคมในยุคทุนนิยม เป็นการส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมในรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในลักษณะต่างๆ อาทิ 
เกิดความสูญเสียความภาคภูมิใจ และสูญเสียความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นชนบท เนื่อง จากได้เกิดวัฒนธรรมเมืองหลวงขึ้นมาใหม่ ที่รับเอาวัฒนธรรมต่างประเทศเข้ามาผสมผสานแล้วเผยแพร่แซกซึมไปทั่ว ผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆไปให้ประชาชนรับสืบทอดกันมา ทำให้วัยรุ่นจำนวนมากในปัจจุบันมีความรู้สึกต่อวัฒนธรรม ประเพณี รูปแบบเดิมๆ ที่เคยมีมา โดยเฉพาะของชนบทในทางที่ไม่ดี คือ จะเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เชย ล้าสมัย ปฏิบัติหรือทำตามแล้วน่าอาย แต่กลับให้ความสำคัญแก่วัฒนธรรมข้ามชาติที่เดินทางมาตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบนวนิยาย วรรณกรรม ละครโทรทัศน์ การ์ตูน ที่เห็นมาแรงมากขณะนี้ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคงเป็นวัฒนธรรมเกาหลี และญี่ปุ่น นั่นเอง
เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง นั่นมาจากการนำเอาค่านิยมทางเศรษฐศาสตร์ของทุนนิยมมาใช้ ในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างสูงสุด และตอบสนองความโลภของนายทุนอย่างสูงสุดเช่นกัน เป็นการสนองนายทุนเพื่อประโยชน์ของนายทุน แต่ไม่ได้เก็บรักษาทรัพยากรไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหลานสืบต่อไปในอนาคต โดยบางครั้งนายทุนเหล่านั้นอาจเป็นต่างชาติที่เข้ามาลงทุน และต้องการเพียงกอบโกยให้ได้มากที่สุดจากการใช้ทรัพยากรของเรา แล้วก็ตีจากไปพร้อมกับเงินจำนวนมหาศาลเมื่อทรัพยากรเหล่านั้นหมด จะเหลือทิ้งไว้เพียงซากเศษของทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเศษเงินที่ลูกจ้างชาวไทยได้รับจากนายทุนต่างชาตินั้นๆ อย่างการทำเหมืองแร่ในอดีตก็แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างไว้แล้วชัดเจน
ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เกิดช่องว่างของบุคคลในสังคม เนื่อง จากแต่ละบุคคลจะมีความรู้ความเข้าใจ ความเห็น ทัศนคติ และมีพฤติกรรมในการปฏิบัติตน การทำงาน การกินอยู่ที่ต่างกัน จึงมีผลให้ไม่สามารถแสวงหาผลประโยชน์จากระบบทุนนิยมได้เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันมากขึ้น นอกจากนี้คนเราจะมีระดับของวัฒนธรรมที่ต่างกัน ก็จะก่อให้เกิดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานร่วมกัน คือเมื่อคนเข้าใจในระบบทุนต่างกัน ก็แน่นอนว่าจะไม่สามารถแสวงหาประโยชน์จากทุนได้เท่ากัน บ้างก็เพียงเป็นได้แค่ขี้ข้าของทุนนั้น หรือมีบ้างที่มีโอกาส และมีการศึกษาก็อาจขึ้นไปได้ในระดับที่สูงกว่าในรูปแบบของตำแหน่งงานที่สูงก ว่า หรืออาจจะเป็นเจ้าของทุนเสียเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นสังคมก็จะเกิดช่องว่างที่ไม่มีทางจะแคบลงได้ จะมีแต่ถ่างมากขึ้นทุกวัน เพราะเจ้าของทุน หรือแม้แต่ผู้ที่มีโอกาสดีกว่าก็จะสามารถแสวงหาประโยชน์จากระบบทุนได้ มากกว่าโดยใช้โอกาสของตนที่มีออกไปในรูปแบบต่างๆ แต่ขณะเดียวกันผู้ไม่มีโอกาสก็จะทำได้เพียงรอคำบัญชาการจากระบบทุนหรือผู้ ที่อยู่สูงกว่า และกินเงินเป็นรายเดือน หรือรายวันแค่นั้น ไม่สามารถมีช่องทางอื่นที่จะเพิ่มรายได้ของตนได้
ผลกระทบต่อวัฒนธรรมราชการไทย ระบบทุนนิยมทำให้ราชการถูกมองว่าเป็นอาชีพล้าหลัง รายได้ต่ำ สู้การทำการค้า หรือธุรกิจไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะสมองไหล คนเก่งๆมีความสามารถออกไปทำธุรกิจร่วมกับภาคเอกชนมากขึ้น นอกจากนี้ค่านิยมในการบริโภคในระบบทุนนิยมที่มีแต่จะเร่งเร้าให้เกิดความ ต้องการด้านวัตถุ โดยด้านวัตถุนั้นสิ่งที่จะสามารถตอบสนองมันได้ก็คือเงิน ด้วยความต้องการที่มากขึ้นแบบก้าวกระโดดนี่แหละมีส่วนทำให้ข้าราชการไทย ทุจริตในหน้าที่โดยปราศจากความละอายมากขึ้น มีการแก่งแย่งชิงดี ประจบนักการเมืองเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนและพวกพ้อง นับว่าเป็นความเสื่อมของวัฒนธรรมราชการที่ส่งผลในทางลบต่อการปกครองชาติบ้าน เมืองในส่วนรวม นั่นก็แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อสภาพสังคมโดยทั่วไป
คุณธรรม จริยธรรม บนพื้นฐานของวัฒนธรรมเกษตรของไทยสั่นคลอน กล่าวคือสังคมไทยที่เคยอยู่กันแบบสันโดษเรียบง่าย และเคยมีความสงบสุขร่มเย็นแบบง่ายๆ ต้องถูกกระแสของระบบทุนนิยม บริโภคนิยมโหมกระหน่ำ ให้กลายเป็นสังคมที่มีแต่ความโลภ เห็นแก่ตัว ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ที่ลอกเลียนแบบสังคมนักธุรกิจ คือมีความรู้สึกอยากให้ความเป็นอยู่ของตนเองสูงขึ้นจนเกินตัว โดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการหารายได้ที่มีขอบเขตจำกัด อันนำไปสู่ภาวะหนี้สินล้นตัว เมื่อเป็นหนี้แล้วก็ต้องหาเงินมาใช้หนี้ก็อาจจะต้องขายที่ดินทำกินหรือ สมบัติที่ตนมีอยู่แล้วไปเป็นลูกจ้างขายแรงงาน หรือถ้าไม่มีความรู้อับจนหนทางแต่อยากมีรายได้สูงก็ไปขายบริการทางเพศ ก็เป็นไปได้
เกิดวิกฤตการณ์ต่อระบบการศึกษาของชาติ โดยการ ศึกษาปัจจุบันมุ่งสร้างคนให้เป็นคนสมัยใหม่ ไม่คำนึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นฐานเดิมของสังคม การศึกษากลับกลายเป็นการแบ่งแยกคนในสังคม เป็นการยกระดับฐานะทางสังคมของคน และกลุ่มประชาชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาก็จะได้อาชีพที่ต่ำๆ ความเป็นอยู่ก็แบบต่ำๆไปด้วย ทำให้ถูกดูหมิ่นดูแคลนจากกลุ่มที่มีการศึกษาสูงกว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ในอนาคตอันใกล้เราจึงต้องมุ่งให้เกิดระบบการศึกษาที่พัฒนาคน พัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม โดยการเอาวัฒนธรรมประกอบกับความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ขนบประเพณีที่ได้สั่งสมมา ผสมผสานกันแล้วพิจารณาเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้เหมาะสมต่อไป
ระบบทุนนิยมยังเป็นผู้สร้างปัญหาความยากจนและทำลายวัฒนธรรมในสังคมไทย เดิมที สังคมไทยนับแต่อดีตดำเนินไปโดยผูกพันแนบแน่นทางเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง ทำให้สังคมอยู่แบบเป็นสุขและเอื้อเฟื้อต่อกัน แต่ระบบทุนนิยมนั้นจะเป็นตัวแปรหนึ่งที่กระตุ้นให้ครอบครัว ชุมชน และประเทศ ขยายความต้องการในการบริโภคสินค้าจากต่างถิ่นหรือจากต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่สังคมเราอาจจะผลิตไม่ได้ จึงต้องสั่งผลผลิตเข้ามาจากต่างประเทศทำให้ขาดดุลการค้า และอาจเป็นผลให้แต่ละครอบครัวในสังคมต้องดิ้นรนเอาตัวรอด ไม่เอื้อเฟื้อต่อกันจากภาวะเศรษฐกิจทุนนิยมที่ตรึงเครียด ต้องแข่งขันตลอดเวลา ผลเหล่านี้อาจทำให้การสืบทอดวัฒนธรรมไทยที่ดีงามต่อไปนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะทุกคนมัวแต่เป็นห่วงเรื่องปากท้อง เรื่องความอยู่รอดของตนเองเสมอ จนลืมที่จะห่วงสภาพสังคมส่วนรวมโดยสิ้นเชิง
ความสัมพันธ์ ความอบอุ่น และความเป็นปึกแผ่นของสมาชิกในครอบครัวและสังคมเสื่อมลง เนื่อง จากสังคมไทยได้เคยก้าวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมตามนโยบายการพัฒนาประเทศแบบทุน นิยม ทำให้ประชากรในประเทศมีการโยกย้ายถิ่นฐานทิ้งการประกอบอาชีพเกษตร เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและภาคบริการต่างๆ ต้องแยกตัวจากพ่อ แม่ ครอบครัว เพื่อเข้าไปทำงานในเมือง ทำให้ความสัมพันธ์กับครอบครัวที่อบอุ่นและเคยมีหมดไป ส่งผลกระทบต่อทุกคนในครอบครัว ทำให้เกิดปัญหาในสังคมได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดที่เป็นปัญหาหลักในการทำลายเยาวชนของ ชาติ ปัญหาการติดเชื้อ HIV ปัญหาผู้หญิงขายบริการที่มีเพิ่มขึ้นพร้อมกับอัตราอายุเฉลี่ยในการขายบริการ ที่ลดลง ปัญหาอาชญากร และ ฯลฯ กำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตกในปัจจุบัน


ความสัมพันธ์ของการสื่อสาร (มวลชน) กับวัฒนธรรม

โดยความจริงแล้ว คำว่า "วัฒนธรรม" และ "การสื่อสาร" มีความหมายที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและแยกไม่ออก เพราะต่างเป็นเหตุที่ทำให้เกิดผลซึ่งกันและกัน พอจะกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นดังต่อไปนี้ "วัฒนธรรม คือสิ่งที่กำหนดบทบาทในการสื่อสาร" ในขณะที่ 
"การสื่อสารก็คือ สิ่งที่กำหนดแนวทางและมีบทบาทในการถ่ายทอดวัฒนธรรม" 
จาก ความหมายที่กล่าวมานี้พอจะยกให้เห็นรูปธรรมชัดเจนได้คือ ในท้องถิ่นใดก็ย่อมมีลักษณะของการสื่อสารเป็นการเฉพาะ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนที่ไม่เหมือนท้องถิ่นอื่น ๆ และต่างก็มีรูปแบบของวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองด้วย 
ตัวอย่างเช่น ความเป็นอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือที่เรียกว่า "ภาคอีสาน" นี้ต่างก็มีลักษณะพิเศษที่ใช้ในการถ่ายทอดสื่อสารซึ่งกันและกันไม่เหมือนกับ ภาคอื่น ๆ ของประเทศ กล่าวคือ มีภาษาถิ่นของตนเองและจากภาษาถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ก็ได้มีบทบาท เป็นสื่อกลางให้กับชุมชนใหญ่ในพื้นที่ ถ้าใช้ศัพท์ให้เป็นทางการหน่อยก็น่าจะเรียกว่ามีภาษาพิเศษที่ใช้สื่อสารใน มวลชนของกลุ่มที่ทำให้เกิดรูปแบบของวัฒนธรรมต่าง ๆ ตามมา อาทิ ภาษาพูด ดนตรีพื้นบ้านอาหารการกิน ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมายที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่หลายช่วงอา ยุคน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีค่ายิ่งได้ขยายจากชุมชนเล็ก ๆ ไปสู่ชุมชนใหญ่จากหมู่บ้านเป็นอำเภอ จังหวัดและหลายจังหวัดรวมเป็นภาค วัฒนธรรมที่ขยายออกไปนี้เพราะมีการสื่อสารเป็นตัวถ่ายทอดนั่นเอง แต่การสื่อสารถ่ายทอดดังกล่าวก็มีวัฒนธรรมของภาษาเข้ามาเป็นสื่อเป็นตัว กำหนดบทบาทและวิธีการในการถ่ายทอดเช่นกัน 
ดังนั้น ทั้งวัฒนธรรมและการสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันยากและดูเหมือนว่าจะ เกิดขึ้นมาพร้อมกับการกำเนิดของชุมชนหรือสัตว์สังคมแรกของโลกเลยทีเดียว 
นักวิชาการหลายแขนงต่างก็ให้คำจำกัดความของวัฒนธรรมกับการสื่อสารไว้ใกล้ เคียงกัน ที่น่าสนใจและใคร่ขอกล่าวถึงก็คือ นักรัฐศาสตร์หลายท่านได้กำหนดบทบาทของการสื่อสารมวลชนไว้ดังนี้ 
หน้าที่ของการสื่อสารในสังคมมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการใหญ่ 
1.สำรวจสิ่งแวดล้อม 
2.สร้างความสัมพันธ์ร่วมกันในสังคม 
3.ทำหน้าที่ถ่ายทอดมรดกสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง 
จะเห็นได้ว่า หน้าที่ในข้อ 3 นั้นไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่โดยธรรมชาติที่มีมาคู่กับสังคมเดิม 
หากแต่ยังเป็นหน้าที่หลักหรือภารกิจสำคัญของการสื่อสารมวลชนในปัจจุบันด้วย เพราะถ้าหากไม่มีการถ่ายทอดก็ไม่เรียกว่าการสื่อสาร และการสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต้องมีผลตอบสนองจากผู้ได้รับการสื่อกลับมาเสีย ก่อน จึงจะกล่าวได้ว่าการสื่อสารนั้นครบถ้วนสมบูรณ์ เช่นคนอีสานไปส่งภาษาให้คนภาคใต้ก็คงจะเข้าใจกันยาก และการตอบกลับมาก็คงเป็นไปด้วยความลำบากยิ่ง การสื่อสารจึงไม่สมบูรณ์ การสื่อสารบางอย่างแทนภาษาพูดเช่น เสียงดนตรี เป็นต้น เสียงแคนของชาวอีสานสื่อความหมายให้คนอีสานรู้สึกรักถิ่นเกิด รักบ้านเมืองของตนเอง เกิดความสามัคคีขึ้นมาอย่างประหลาดมีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันแต่หากเอา ดนตรีของภาคอื่นของประเทศอื่นมาใช้สื่อกันคงจะมิให้ความรู้สึกอย่างนี้ 
ไม่เพียงแต่ผู้ทำหน้าที่สื่อสารจะต้องเข้าใจวิธีในการสื่อความหมายต่อกัน เท่านั้น แต่หากว่าผู้ที่เป็นคนกลางในการทำหน้าที่ติดต่อจำต้องมีจิตสำนึกที่ดีด้วย จิตสำนึกที่ดีทำให้เกิดความรับผิดชอบขึ้นมา และความรับผิดชอบนี้เองที่ทำให้การสื่อสารสมบูรณ์และมีคุณค่าเป็นการสื่อสาร ที่สร้างสรรค์เกิดขึ้นในสังคมใดสังคมนั้นมีแต่ความเจริญ 
"การสื่อสารมวลชน" จึงเป็นหัวใจของการพัฒนาสังคม ที่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบครบสามประการคือ หนึ่ง มีเสรีภาพในการสื่อสาร สอง มีจิตสำนึกที่ดีในการเป็นผู้ถ่ายทอด และ ประการสุดท้าย ก็คือ ต้องมีความรับผิดชอบ หากจะมองเข้าไปในสังคมใดก็ตามเห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปในทางบวกที่ดีขึ้นหรือทางลบที่เลวลงก็ตามล้วนมีสาเหตุมา จากการสื่อสาร 
กล่าวอย่างนี้ก็เพราะมีตัวอย่างที่เด่นชัดหลายกรณีเช่น ในสังคมของประเทศเผด็จการหรือสังคมนิยม รัฐบาลจะยึดการสื่อสารมวลชนไว้เป็นเครื่องมือรัฐบาลเพราะเล็งเห็นว่าจะใช้ กำหนดบทบาท ของคนในประเทศได้ในโลกคอมมิวนิสต์การสื่อสารก็คือตัวแทนของรัฐบาล ในการใช้โฆษณา ชวนเชื่อต่างๆ ในสังคมประชาธิปไตยนับว่าโชคดีที่สื่อมวลชนมีอิสระ มีเสรีภาพในการถ่ายทอดและชี้นำมวลชนได้ซึ่งเปรียบเสมือนดาบสองคม ขึ้นอยู่กับสำนึกรับผิดชอบของสื่อมวลชนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว วัฒนธรรมไทยกับการสื่อมวลชน 
ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะความเป็นประเทศเสรีดังกล่าวนี้เองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ในสังคมไทย อันเนื่องมาจากการไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตกที่มากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของการ สื่อสารความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมไทยอย่างใหญ่หลวงนี้ เริ่มมาประมาณ 30 กว่าปีแล้วหรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองได้สงบลง 
เทคโนโลยีทางการสื่อสารแผนใหม่ของประเทศมหาอำนาจที่อยู่ฝ่ายพันธมิตรมีการ พัฒนาแข่งขันกันอย่างรวดเร็ว นักวิชาการเรียกยุคนี้ว่าเป็นยุคการสื่อสารเสรีที่มีการพัฒนาเทคนิคเร็วมาก จนถึงขั้นใช้ดาวเทียมสื่อสารถึงกันทั่วโลกด้วยดาวเทียมสามดวงเท่านั้น มีความเร็วเทียบเท่าการหมุนรอบตัวเองของโลกเราทัเดียว และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่พาตัวเองเข้าไปสู่ระบบการสื่อสารนี้ ระบบการสื่อสารเสรีทั้งคุณและโทษ คุณประโยชน์ก็คือเป็นการย่อโลกให้แคบลงมาให้ผู้คนฉลาดเฉลียวหูตากว้างขึ้น ช่วยพัฒนาให้สังคมเจริญอย่างรวดเร็วแต่ในทางตรงกันข้าม การสื่อสารอย่างไร้ขอบเขตจำกัดได้รุกล้ำอธิปไตยทางวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ความเป็นตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ หลายประเทศกว่าจะรู้ตัวก็ถูกกลืนทางด้านวัฒนธรรมไปมากแล้ว 
สำหรับประเทศไทยนั้น น่าจะกล่าวได้ว่า "ยังไม่สายเกินแก้" และผู้ที่มีบทบาทเป็นอันมากที่จะช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติไว้ได้ก็คือ "สื่อมวลชน เอง" และด้วยเพราะมีการใช้คำเรียกขานสื่อมวลชนกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งคำนี้มีทั้งที่ให้ความหมายในรูปธรรมและนามธรรม ก่อนที่จะได้กล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของสื่อมวลชนต่อวัฒนธรรมไทยจึง ใคร่ขอนำคำจำกัดความที่คณะกรรมการราชบัญฑิตยสถานได้ให้ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้การกล่าวถึงบทบาทของสื่อมวลชนต่อวัฒนธรรมไทยในลำดับต่อไป เป็นที่เข้าใจยิ่งขึ้น 
คณะกรรมการราชบัญฑิตยสถาน แยกความหมายของ "การสื่อสารมวลชน" ดังต่อไปนี้ 
1.สื่อมวลชน ( Mass Media ) หมายถึงตัวสื่อชนิดของสื่อที่ใช้ทำหน้าที่ติดต่ออาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียม โทรศัพท์ โทรเลข ภาพยนตร์ 
2.สื่อสารมวลชน ( Mass Communication ) ก็คือ วิธีการที่ใช้ในการติดต่อหรือถ่ายทอดข่าวสารไปสู่มวลชน 
3.นักสื่อมวลชน คือตัวบุคคลผู้ทำหน้าที่ในการติดต่อหรือหาข้อมูลข่าวสาร 
จากคำจำกัดความที่ค่อนข้างชัดเจนพอสมควรดังกล่าวนี้ ทำให้เรามองเห็นภาพของการสื่อสารมวลชนเป็นรูปธรรมขึ้นมา 
หากจะมีคำถามว่า ในจำนวนสามส่วนตามความหมายของคณะกรรมการราชบัญฑิตยสถานแยกไว้นี้ ส่วนใดมีบทบาทต่อสังคมหรือกล่าวให้แคบเข้ามาก็คือ บทบาทต่อวัฒนธรรมของสังคมมากที่สุด 
คำตอบก็คือ ทั้งสามประการมีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ในสอง ประการแรกนั้น น่าจะหมายถึง เทคนิควิธีในการสื่อสารที่พัฒนาล้ำยุคขึ้นทุกวันหมายถึงองค์กรหรือสถาบันของ สื่อชนิดหนึ่งชนิดใด เช่นสำนักพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หรือฐานส่งสัญญาณดาวเทียมเป็นสถานที่ เป็นวัตถุสิ่งของที่จับต้องได้และถูกสร้างขึ้นมาจากมันสมองของมนุษย์นั่นเอง แต่ความหมายของ "นักสื่อสารมวลชน" นั้นแจ่มชัดว่าเป็นบุคคลที่เป็นนักข่าว นักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ นักหนังสือพิมพ์ ผู้ประกาศข่าว หรือบุคคลอื่นใดที่ทำหน้าที่ในการประสานการถ่ายทอดหรือติดต่อสื่อสารเพื่อ เผยแพร่ข่าวสารไปยังมวลชนกลุ่มกว้าง และนักสื่อสารมวลชนที่กำลังกล่าวถึงนี่เองที่เป็นผู้กุมทิศทางของการสื่อสาร ทั้งหมด เพราะเป็นบุคคลที่มีจิตวิญญาณ มีความรู้สึกนึกคิด และมีความรับผิดชอบต่อผลงานที่ได้สื่อสารออกไปไม่ว่าจะด้วยการสื่อสารแบบใด ก็ตาม นักสื่อสารมวลชน หรือคนหนังสือพิมพ์ คนวิทยุ คนโทรทัศน์ จึงเป็นหัวใจหลักของการสื่อสารมวลชนทีเดียว ส่วนเครื่องมือ หรือเทคนิควิธีนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบให้การสื่อสารรวดเร็ว และสมบูรณ์ขึ้นเท่านั้นเอง หากจะมองให้ลึกลงไปอีกก็อาจจะมีคำถามติดตามมาอีกว่า แล้วสื่อชนิดใดสำคัญที่สุด 
คำตอบก็คือ สื่อทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ดาวเทียม หรืออื่นใดมีความสำคัญเท่าเทียมกัน แตกต่างตรงที่แต่ละประเภทมีจุดดีจุดด้อยไม่เหมือนกัน หนังสือพิมพ์อาจเป็นสื่อที่ใช้ติดต่อได้กว้างขวางมีระยะเวลาในการติดต่อนาน คือหยิบอ่านพรุ่งนี้มะรืนนี้ก็ได้ แต่วิทยุติดต่อได้เร็วกว่าและไปได้ทุกสถานที่ คนอ่านหนังสือไม่ออกก็ฟังได้ รวดเร็วพอกันแต่ปราศจากหลักฐานนอกจากจะอัด หรือเก็บ "สคริปต์" รายการนั้นไว้ส่วนโทรทัศน์มีความได้เปรียบที่ มีทั้งภาพ ทั้งเสียงและมีสีสัน มีความรวดเร็ว แต่ก็ติดตรงที่มีเวลา ในการสื่อสารจำกัดและบังคับผู้รับสารให้รับตามเวลา หมดเวลาสถานี ก็หยุดและเป็นสื่อที่เคลื่อนย้ายติดตัวลำบาก ทั้งยังติดปัญหารับ สัญญาณไม่เท่าเทียมกันแต่โทรทัศน์ก็เป็นสื่อที่มีผู้คาดหมายว่า จะมีอิทธิพลมากที่สุดในทศวรรษต่อ ๆ ไป ในต่างประเทศที่พัฒนาไปแล้ว อย่างสหรัฐหรืออังกฤษมีการสำรวจว่า ค่าความนิยมโทรทัศน์มาอันดับหนึ่ง แต่ในเอเชียหรือในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายนี้ยกให้วิทยุและหนังสือพิมพ์ และภาพยนตร์มาในลำดับต้น ๆ แต่คาดว่าในอนาคตในโทรทัศน์และดาวเทียมก็จะเข้ามามีบทบาทยิ่งขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์นั้นก็มีการพัฒนาไปมาก การส่งข่าวสารก็ล้ำยุคขึ้นถึงขั้นส่งเพลทผ่านสัญญาณดาวเทียมกันแล้ว และจะว่าไป… 
"การอ่านหนังสือพิมพ์กลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีของคนทั้งโลกไปแล้ว" 
ดัง นั้น สื่อทุกชนิดจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ส่วนที่ว่าสื่อใดจะมีอิทธิพลมากหรือน้อยเป็นที่นิยมของสังคมนั้น ๆ หรือไม่อย่างไรนั้น นอกเหนือจากการศึกษาของคนในสังคมจะเป็นตัวกำหนดแล้ว หน้าที่และจิตสำนึกที่ดีของนักสื่อมวลชนของสื่อนั้น ๆ ต่างหากที่เป็นสิ่งกำหนดศัทธาประชาชน 
ดังนั้นการจะกล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนที่ควรมีต่อ วัฒนธรรมของชาติต่อไปนี้จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเป็นการกล่าวถึงภาระหน้าที่ ของสื่อสารมวลชนโดยภาพรวมซึ่งอาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปบ้าง จากที่เราทราบกันดีแล้วว่า… "วัฒนธรรม" ก็คือผลรวมของพฤติกรรม ที่เกิดจากการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่นหรือพื้นที่นั้น ๆ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมานาน จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งซึ่งมีผู้แยกแยะวัฒนธรรมออกไปอีกหลายแบบ หลายประเภท เช่น - วัฒนธรรมในการแต่งกาย - วัฒนธรรมในการครองเรือน - วัฒนธรรมการบริโภค - วัฒนธรรมของการแสดงพื้นบ้าน - วัฒนธรรมในการใช้ภาษาพูดและเขียน - วัฒนธรรมในด้านศิลปะหัตถกรรมท้องถิ่น - วัฒนธรรมในด้านความเป็นอยู่ในสังคม - ฯ ล ฯ 
และคงจะมีอีกหลายวัฒนธรรมที่จะมีการแตกย่อยออกไปอีก รวมความก็คือเป็นมรดกของประเทศเพราะขึ้นชื่อว่าวัฒนธรรมแล้ว ส่วนใหญ่จะให้ความหมายในทางบวกหรือสร้างสรรค์ เพราะวัฒนธรรมเป็นผลรวมของพฤติกรรมคนในสังคม เรามาดูว่าก่อนจะเกิดพฤติกรรมรวมได้ต้องมาจากค่านิยมเล็ก ๆ แล้วขยายตัวออกไป "ค่านิยม" ซึ่งเป็นศัพท์ค่อนข้างร่วมสมัยนี้ ว่าไปแล้วผู้ที่มีส่วนในการชี้นำมากที่สุดก็คือ "สื่อมวลชน" นั่นเอง ส่วนการชี้นำหรือโน้มน้าวให้เกิดค่านิยมจนขยายผลเป็นพฤติกรรมร่วมนั้นอาจมาจากเจตนาของสื่อมวลชนหรือไม่ก็ได้ 
ตัวอย่างที่ใคร่จะยกขึ้นมาก็คือ ก่อนนั้น คนไทยนุ่งผ้าม่วง นุ่งโจงกระเบน นิยมคาดผ้าขาวม้า กินหมากกินพลู แต่พอการสื่อสารจากตะวันตกเข้ามาหลังสงครามโลกครั้งที่สองภาพจากหนังสือ พิมพ์ภาพยนตร์ค่อย ๆ เปลี่ยนคนไทยให้หันมาใส่เสื้อผ้าแบบตะวันตกแปรสภาพเป็นคนรุ่นใหม่ ใส่กางเกงขายาว ขาสั้น สวมกระโปรงสั้นบ้างยาวบ้าง กางเกงรัดรูปไม่รัดรูปล้วนมาจากการชี้นำของสื่อมวลชนสื่อต่าง ๆ ทั้งสิ้น 
หากจะถามต่อไปว่า แล้วทำไม ? เราต้องเร่งรณรงค์ส่งเสริมวัฒนธรรมกันอย่างจริงจัง เหตุผลก็คือ วัฒนธรรมมีธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งอื่นๆ วัฒนธรรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นการค่อยยอมรับเข้ามาอย่างช้าๆ แต่เมื่อรับมาแล้วหรือเปลี่ยนไปแล้ว จะแก้ไขให้เหมือนเดิมได้ยากยิ่ง เพราะดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าจะถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ทันทีจนถึงวันนี้ เราไม่สามารถบอกให้เด็ก หรือวัยรุ่นหันไปสวมเสื้อคอกระเช้า นุ่งผ้าถุงไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือให้คุณตาคุณยายนุ่งโจงกระเบนคงทำได้ยากยิ่ง หากเราซึ่งเป็นสื่อมวลชนปล่อยให้ทุกอย่างลื่นไหลอย่างนี้ นับวันวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยเราจะหมดไปหรือถูกครอบงำจากวัฒนธรรมของชาติ อื่นๆ จนหมดสิ้น 
บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือไม่สำคัญ โดยมุ่งแต่จะหันไปพัฒนาเศรษฐกิจหรือให้ความสำคัญกับการเมืองมากจนเกินไป แต่อย่าลืมว่าวัฒนธรรมนี้คือชาติ คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเอกลักษณ์ของบรรพบุรุษไทย ชาติที่เจริญต้องมีวัฒนธรรมของตนเองเป็นสิ่งบอกอายุความเจริญรุ่งเรืองใน อดีตกาล

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เทพีอาเธน่า


เทพีอาเธน่า
ใน คณะเทพโอลิมเปียนมีเทวีพรหมจารีอยู่ 3 องค์ ทรงนามตามลำดับว่า เฮสเทีย (Hestia) เอเธน่า (Athene) อาร์เตมิส (Artemis) องค์แรกเป็นเทวีภคินีของเทพปริณายกซูส ส่วน 2 องค์หลังเป็นธิดา แต่ละองค์มีประวัติและความสำคัญดังจะกล่าวต่อไปนี้
อันเทวดาของกรีกนั้นถึงแม้ไม่ตายก็หาความรู้สึกเจ็บปวดในกายองค์ไม่ การถือกำเนิดของเอเธน่านั้น กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่ง ซูส เทพบดีได้รับคำทำนายว่า โอรสธิดาที่ประสูติแต่มเหสีเจ้าปัญญานาม มีทิส (Metis) นั้นจะ มาโค่นบัลลังก์ ของพระองค์ ไท้เธอก็แก้ปัญหาด้วยการจับเอามีทิสซึ่งทรงตั้งครรภ์แก่นั้นกลืนเข้าไปในท้อง แต่เวลาไม่ นานนัก เทพปริณายกซูสบังเกิดอาการปวดเศียรขึ้นมา ให้รู้สีกปวดร้าวเป็นกำลัง ไท้เธอจึงมีเทวโองการสั่งให้เรียก ประชุมเทพ ทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ให้ช่วยกันหาทางบำบัดเยียวยา แต่... ความอุสาหพยายามของทวยเทพก็ไม่เผล็ดผล ซูส ไม่อาจทนความ เจ็บปวดต่อไปได้ ในที่สุดจึงมีเทวบัญชาสั่งโอรสองค์หนึ่งของไท้เธอ คือ ฮีฟีสทัส (Hephaestus) หรือ วัลแคน (Vulcan) ให้ใช้ขวานแล่งเศียรของไท้เธอออก เทพฮีฟีสทัสปฏิบัติตาม เอาขวานจามลงไป ยังไม่ทัน เศียรซูสจะแยกดี เทวีเอเธน่าก็ผุด ขึ้นมาจากเศียรเทพบิดา ในลักษณะเจริญวัยเต็มที่แต่งฉลององค์หุ้มเกราะแวววาว พร้อมสรรพ ถือหอกเป็นอาวุธ และประกาศ ชัยชนะเป็นลำนำกัมปนาทเป็นที่พิศวงหวั่นหวาดแก่ทวยเทพเป็นที่สุด พร้อมกันนั้นทั่วพื้นพสุธาและมหาสมุทร ก็บังเกิด อาการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นอย่างใหญ่ ประกาศกำเนิดเทวีองค์นี้สนั่นไป ทั้งโลก


การอุบัติของเทวีองค์นี้ถือว่าเป็นไปเพื่อยังสันติสุขให้บังเกิดในโลกและขจัดความโฉดเขลาที่ครอง โลกจนตราบ เท่าบัดนั้นให้สิ้นไป ด้วยว่าพอเจ้าแม่ผุดจากเศียรซูส เทวีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูป ก็ล่าหนีให้เจ้าแม่เข้า ครองแทนที่ ด้วยเหตุนี้เทวีเอเธน่าจึงเป็นที่นับถือบูชาในฐานะเทวีครองปัญญา นอกจากนั้น เจ้าแม่ยังมีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย และการยุทธศิลปป้องกันบ้านเมือง

ภายหลังการอุบัติของเจ้าแม่เอเธน่าไม่นาน มีหัวหน้าชนชาวฟีนิเชียคนหนึ่งชื่อว่า ซีครอบส์ (Cecrop) พาบริษัทบริวาร อพยพเข้าไปในประเทศกรีซเลือก ได้ชัยภูมิอันตระการตาแห่งหนึ่งในแคว้น อัตติกะ (Attica) ตั้งภูมิลำเนาก่อสร้างบ้านเรือน ขึ้นเป็นนครอันสวยงามนครหนึ่ง เทพทั้งปวงเฝ้าดูงานสร้างเมืองนี้ด้วยความ เลื่อมใสยิ่ง ในที่สุดเมื่อเห็นว่าเมืองมีเค้าจะกลาย เป็นนครอันน่าอยู่ขึ้นมาแล้ว เทพแต่ละองค์ต่างก็แสดงความปรารถนาใคร่จะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนคร จึงประชุมกันถกถึงเรื่องนี้ เมื่อมีการอภิปรายโต้แย้งกันพอสมควรแล้ว เทพส่วนใหญ่ในที่ประชุมก็พากันยอมสละสิทธิ์ คงเหลือแต่เทพโปเซดอนและเทวีเอเธน่า 2 องค์เท่านั้นยังแก่งแย่งกันอยู่
เพื่อยุติปัญหาว่าใครควรจะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนคร เทพปริณายกซูสไม่พึงประสงค์จะชี้ขาดโดยอำนาจตุลาการที่ไท้เธอ จะพึงใช้ได้ด้วยเกรงว่าจะเป็นที่ครหาว่าเข้า ข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไท้เธอจึงมีเทวโองการว่านครนั้นพึงอยู่ในความคุ้มครองของเทพ หรือเทวี ซึ่งสามารถเนรมิตของที่มีประโยชน์ที่สุดให้มนุษย์ใช้ได้ และมอบหน้าที่ตัดสิน ชี้ขาดให้แก่ที่ประชุม

เทพโปเซดอนเป็นฝ่ายเนรมิตก่อน เธอยกตรีศูลคู่หัตถ์ขึ้นกระแทกลงกับพื้น บันดาลให้มีม้าลำยองตัวหนึ่งผุดขึ้นท่าม กลางเสียงแสดงความพิศวงและชื่นชมของ เหล่าเทพ เมื่อเทพผู้เนรมิตม้าอธิบายคุณประโยชน์ของม้าให้เป็นที่ตระหนักแก่เทพ ทั้งปวงแล้ว เทพต่างองค์ต่างก็คิดเห็นว่า เทวีเอเธน่าคงไม่สามารถเอาชนะเนปจูนเสีย เป็นแน่แล้ว ถึงกับพากันแย้มศรวลด้วย เสียงอันดังแกมเย้ยหยันเอาเสียด้วย เมื่อเจ้าแม่เอเธน่าเนรมิตต้นมะกอกต้นหนึ่งขึ้นมา แต่ครั้นเจ้าแม่อธิบายถึงคุณประโยชน์ ของต้นมะกอก ที่มนุษย์จะเอาไปใช้ได้นานัปการนับตั้งแต่ใช้เนื้อไม้ ผล กิ่งก้าน ไปจนใบ กับซ้ำว่ามะกอกยังเป็น เครื่องหมายถึงสันติภาพและความรุ่งเรืองวัฒนาอีกด้วย และเพราะฉะนั้นจึงเป็นที่พึงประสงค์ยิ่งกว่าม้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายของ สงครามดังนี้ มวลเทพก็เห็นพ้องต้องกันว่า ของที่เจ้าแม่เอเธน่าเนรมิตมีประโยชน์กว่า จึงลงมติตัดสิน ชี้ขาดให้เจ้าแม่เป็นฝ่าย ชนะ


เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงชัยชนะครังนี้ เจ้าแม่เอเธน่าได้ประสาทชื่อนครนั้น ตามนามของเจ้าแม่เองว่า เอเธนส์ ( Athens ) และสืบจากนั้นมาชาวกรุงเอเธนส์ก็ นับถือบูชาเจ้าแม่ในฐานะเทวีผู้ปกครองนครของเขาอย่างแน่นแฟ้น

นอกจากชื่อเอเธน่าหรือมิเนอร์วาแล้ว ชาวกรีกและโรมันยังรู้จักเจ้าแม่ในชื่ออื่น ๆ อีกหลาย ชื่อ ในจำนวนนี้มี ชื่อที่แพร่หลายกว่าเพื่อนได้แก่ พัลลัส (Pallas) จนบางทีเขาเรียกควบกับชื่อ เดิมว่า พัลลัสเอเธน่า ก็มี ว่ากันว่า มูลเหตุของชื่อนี้สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมตอนเจ้าแม่ปราบยักษ์ชื่อ พัลลัส ซึ่งไม่ปรากฏตำนานชัดแจ้ง อาศัยเหตุที่ เจ้าแม่ถลกหนังยักษ์มาคลุมองค์ คนทั้งหลายเลยพลอย เรียกเจ้าแม่ในชื่อของยักษ์นั้นด้วย และเรียกรูปประติมา หรือ อนุสาวรีย์อันเป็นเครื่องหมายถึงเจ้าแม่ ว่า พัลเลเดียม (Palladium) ในที่สุดคำว่า Palladium ก็มีที่ใช้ใน ภาษาอังกฤษถึงภาวะหรือ ปัจจัยที่อำนวยความคุ้มครองหรือความปลอดภัยให้เกิดแก่ชุมชน ทำนอง Palladium ที่ชาวโรมัน อารักขาไว้ในวิหารเวสตาฉะนั้น
เทวีเอเธน่ามีต้นโอลีฟเป็นพฤกษาประจำตัว และนกฮูกเป็นนกคู่ใจ 

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน

 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน
    (สร้างขึ้นระหว่าง ศตวรรษที่ 17 - ศตวรรษที่ 20)

     สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคปัจจุบันมีทั้งสิ้น  7  อย่าง   ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ยังคงอยู่สมบูรณ์มากกว่าทั้งสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณและยุคกลาง   อีกทั้งยังคงความสวยงามอยู่จนถึงทุกวันนี้

สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน   ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1.  ปราสาทหินนครวัด
2.  ทัชมาฮาล
3.  พระราชวังแวร์ซายส์
4.  ตึกเอมไพร์สเตท
5.  เขื่อนยักษ์ฮูเวอร์
6.  สะพานโกลเด้นเกด
7.  เรือควีนแมรี



 

 ปราสาทหินนครวัด  (Angkor Wat)

     ปราสาทหินนครวัด   เป็นปราสาทหินที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดของขอม   และเป็นเทวสถานทางศาสนาพราหมณ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก   สร้างขึ้นเมื่อเมื่อประมาณ พ.ศ. 1656 - 1693โดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2  แห่งอาณาจักรขอม   ปัจจุบันคือประเทศกัมพูชา   ปราสาทหินประกอบไปด้วยปราสาทใหญ่ 5 องค์   ตั้งอยู่ที่บนฐานสี่เหลี่ยมที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆสูง 12 เมตรบนฐานชั้นบนมีปราสาทองค์ใหญ่สูงประมาณ 40 เมตร   ตั้งอยู่ตรงกลาง   และมีปราสาทขนาดเล็กกว่าล้อมรอบอยู่ทั้ง 4 ทิศ   ซึ่งมีระเบียงหินสลักภาพนูนเชื่อมปราสาททั้ง 4 ด้าน   และยังมีระเบียงหินขนาดใหญ่เป็นกำแพงล้อมรอบถัดออกไปอีกชั้นหนึ่ง   ซึ่งเป็นระเบียงที่มีภาพสลักนูนแสดงเหตุการณ์ต่างๆและตำนานทางศาสนา   บริเวณของปราสาทหินนครวัดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,005 ไร่   ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ   และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเพื่ออนุรักษ์ให้เป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม  ศิลปกรรม  และวัฒนธรรมแห่งหนึ่ง


 

 ทัชมาฮาล  (Taj Mahal)

     ทัชมาฮาล  เป็นสุสานหินอ่อนขนาดใหญ่ที่สวยงามสมบูรณ์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมนา  เมืองอักรา ประเทศอินเดีย   ทัชมาฮาลสร้างขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17   เมื่อประมาณค.ศ. 1630 - 1652  ใช้เวลาก่อสร้าง 17 ปี  ใช้เวลาตกแต่ง 5 ปี  รวมเวลาทั้งหมด 22 ปี   ใข้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 30 ล้านรูปี   โดยพระเจ้าชาห์  เจฮัล   กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมกุล   เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่มีต่อพระมเหสีมุมตัส   สุสานทัชมาฮาลสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวเป็นรูปโดมตามแบบสถาปัตยกรรมเปอร์เซียสูง 61 เมตร   ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมที่มีความกว้างด้านละ 95 เมตรหนา 5 เมตร   มีหอคอยยอดแหลมสูง 95 เมตร   ตั้งอยู่ที่มุมของฐานประจำ 4 ทิศ   ใช้คนงานในการสร้างประมาณ 22,000 คนควบคุมการสร้างโดย  อัสตาด  ไอซา  สถาปนิกในสมัยนั้น
 

 พระราชวังแวร์ซายส์  (Versailles)

     พระราชวังแวร์ซายส์   แห่งเมืองแวร์ซายส์   ประเทศฝรั่งเศส   สร้างขึ้นเมื่อปี  ค.ศ. 1661 - 1681  โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14  แห่งฝรั่งเศส   จุดประสงค์สำคัญคือต้องการให้ชาวโลกเห็นว่า ความมั่งคั่งสมบูรณ์และความงามเลอเลิศที่สุดในโลกมารวมอยู่ที่ฝรั่งเศสทั้งหมด   จึงได้สั่งให้รื้อพลับพลาที่สร้างในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ทิ้ง   และให้สร้างพระราชวังใหญ่ทำด้วยหินอ่อนและตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร   ด้วยสิ่งประดับที่หาค่ามิได้   ทั้งลวดลายแกะสลักในไม้และหิน เครื่องเคลือบ   เครื่องเงิน   เครื่องทอง   หินอ่อน   ภาพเขียนจากฝีมือจิตรกรชื่อดังและฝีมือชั้นเยี่ยม   โดยใช้เงินในการก่อสร้างไปเป็นเงิน  500  ล้านฟรังค์   ใช้แรงงานคนในการก่อสร้าง30,000  คน   และใช้เวลาสร้างนานถึง 30 ปี   ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายส์   ยังมีความงามเป็นเลิศ   ซึ่งฝรั่งเศสใช้เป็นสถานที่รับแขกเมือง   การประชุมที่สำคัญระดับชาติ
 

 ตึกเอมไพร์สเตท  (Empire State Tower)

     ตึกเอมไพร์สเตท   ตั้งอยู่บนเกาะแมนฮัตตัน   กรุงนิวยอร์ก   สหรัฐอเมริกา   สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ1929 - 1937   ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 8 ปี   เสียงบประมาณในการก่อสร้าง 5 ล้านปอนด์ตัวตึกสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 1,248 ฟุต  มี 102 ชั้น  มีหน้าต่าง 6,500 บาน  มีลิฟท์ขึ้นลง 63 แห่ง   ครอบคลุมพื้นที่ 2,158,000 ตารางฟุต   สามารถจุคนได้ 25,000 - 80,000 คน   ใช้เป็นสำนักงานของบริษัทขนาดใหญ่ 600 กว่าบริษัท   ส่วนสำคัญของตึกเอมไพร์สเตทจากชั้นล่างถึงชั้นที่ 86  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างดี   น้ำหนัก 730 ตัน   ชั้นบนสุดมีโคมไฟสูงขึ้นไปอีก 200 ฟุต   ผู้ก่อสร้างรับประกันความถาวรทนทานของตึก 6,000 ปีตึกเอมไพร์สเตทเคยได้ชื่อว่าเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก   แม้ปัจจุบันจะไม่ได้เป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกแล้ว   แต่นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยุคใหม่ชิ้นแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 20


 

 เขื่อนฮูเวอร์  (Hoover Dam)

     เขื่อนฮูเวอร์  เป็นเขื่อนขนาดใหญ่เขื่อนแรก   สร้างขึ้นมาเมื่อปีค.ศ. 1922 - 1933   ในสมัยของประธานาธิบดีฮูเวอร์แห่งสหรัฐอเมริกา   ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 7 ปี   เขื่อนฮูเวอร์เป็นเขื่อนแรกที่สามารถเอาชนะธรรมชาติ  คือ  น้ำท่วมและสามารถเก็บกักน้ำ   ทำให้เกิดทะเลสาบขนาดใหญ่ขึ้น   ตัวเขื่อนสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 228 เมตร ยาว 391 เมตร   ทะเลสาบมีเหนือเขื่อนยาว 184 กิโลเมตร   ครอบคลุมพื้นที่ 582.75 ตารางกิโลเมตร   สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 1,835,000 กิโลวัตต์   เขื่อนฮูเวอร์สร้างขึ้นที่บริเวณหุบเขาแบล็คแคนยอน  ระหว่างรัฐอลิโซนากับรัฐเนวาดา   ปัจจุบันเขื่อนฮูเวอร์ไม่ได้จัดเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก   แต่ก็นับว่าเป็นเขื่อนยักษ์แห่งแรกของโลก


 


 สะพานโกลเดนเกด  (Golden Gate)

     สะพานโกลเดนเกด   เป็นสะพานที่ทอดข้ามอ่าวทางตอนเหนือของเมืองท่าซานฟรานซิสโก
ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  สหรัฐอเมริกา   สร้างขึ้นในสมัยของประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์
เมื่อค.ศ. 1933 - 1937   เฉพาะช่วงตอนกลางของสะพานยาว 1,280 เมตรหรือ 4,200 ฟุต
กว้าง 27 เมตรหรือ 90 ฟุต   อยู่สูงกว่าน้ำทะเล 67 เมตร   ข้างสะพานทั้งสองข้างมีสะพานช่วงสั้นต่อกันรวมเกือบ 7 กิโลเมตร   มีหอคอยเหล็กสองข้างสูงข้างละ 746 ฟุต   แบ่งเป็นทางรถยนต์โดยสาร 6 ทาง  รถบรรทุก 3 ทาง  ทางรถไปอีก 2 ทาง   และใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 35 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา   ปัจจุบันสะพานโกลเดนเกดเป็นสะพานที่ประชาชนสนใจในความมหัศจรรย์

  

 เรือโดยสารควีนแมรี  (Queen Mary Liner)

     เรือโดยสารควีนแมรี   สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1939  ที่อู่ต่อเรือในสก็อตแลนด์   เป็นเรือทะเลขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา   ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ มีความยาว 306 เมตร  สูง 55 เมตร  หนัก 80,773 ตัน   มีอัตราความเร็ว 30 น๊อต   จุผู้โดยสารได้ประมาณ 2,075 คน   บริเวญภายในเรือมีห้องพัก  ห้องสมุด  ห้องอาหาร  คลินิก  โรงพิมพ์  และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย   พื้นที่บนดาดฟ้าเรือประมาณ 7.5 ไร่   เป็นบริเวณที่ใช้จัดงานเลี้ยงและสนามกีฬา   เดิมทีเรือโดยสารควีนแมรีเป็นเรือเดินสมุทร   แต่ได้ดัดแปลงเป็นภัตตาคารและโรงแรมในปี ค.ศ. 1967     ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำอยู่ที่ท่าเรือลอง
บิช   รัฐแคลิฟอร์เนีย  สหรัฐอเมริกา

สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง

สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง
   (อายุตั้งแต่ คริสตศตวรรษที่ 5 - คริสตศตวรรษที่ 16 )

      สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสมัยกลาง ถูกจัดขึ้นมาและเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย   ต่อมาหลังจากมีการตั้งข้อสังเกตว่า 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสมัยโบราณแทบทั้งหมด   ยกเว้นพีระมิดล้วนแต่เสื่อมโทรมเสื่อมสลายไปหมดสิ้น เหลือเพียงร่องรอยหลักฐาน   หรือแบบจำลองเท่านั้น    สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสมัยกลาง ล้วนแต่ยังดำรงอยู่เป็นหลักฐานให้ศึกษากันในปัจจุบัน   ถึงแม้จะเสื่อมโทรมไปบ้างตามกาลเวลา สำหรับคำว่า สมัยกลาง ของ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสมัยกลาง มีความหมายเพียงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคถัดมาจากยุคโบราณเท่านั้น
สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง  ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1.  สนามกีฬากรุงโรม
2.  เจดีย์กระเบื้องเคลือบนานกิง
3.  กำแพงเมืองจีน
4.  กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์
5.  สุเหร่าโซเฟีย
6.  หอเอนเมืองปิซา
7.  สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย 

 

 

 สนามกีฬาแห่งกรุงโรม  (The colosseum  of  Rome)

     สนามกีฬาแห่งกรุงโรม   เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ที่เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียนแห่งอาณาจักรโรมัน  และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิติตัส (Titus)  ในคริสต์ศตวรรษที่  1 หรือ   ประมาณปี ค.ศ. 80   อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ  527  เมตร  สูง  57  เมตร  สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ  50,000  คน  ใต้อัฒจรรย์มีห้องใต้ดินที่สร้างขึ้นเพื่อขังสิงโตและนักโทษประหาร   ก่อนปล่อยให้ออกมาต่อสู้กันกลางสนาม   นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประลองฝีมือของเหล่าอัศวินในยุคนั้น   ปัจจุบันยังคงเหลือโครงสร้างเกือบสมบูรณ์ตั้งเด่นเป็นโบราณสถานที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั่วโลก




 เจดียกระเบื้องเคลือบนานกิง
    (The Porcelain Tower of Nanking)

     เจดีย์กระเบื้องเคลือบนานกิง   ตั้งอยู่ที่เมืองนานกิงที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน   สร้างขึ้นในสมัยของราชวงศ์เหม็ง   เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15     ตัวเจดีย์มีลักษณะทรงสูงรูปแปดเหลื่ยม   หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว   แขวนกระดิ่งไว้ 80 ลูก   โดยรอบเจดีย์ก่อด้วยอิฐประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ   ยอดปลายแหลมของเจดีย์เป็นรูปทรงกลมต่อกันขึ้นไปและเคลือบด้วยทอง   แต่เจดีย์องค์เดิมมี  3  ชั้น   ต่อมาในสมัยของจักรพรรดิยุ่งโล้แห่งราชวงค์เหม็งประมาณ พ.ศ.  1973  ได้โปรดให้สร้างเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น  9  ชั้น   มีโซ่โยงลงมาจากชายคาตรงแนวที่เป็นเหลี่ยมขององค์เจดีย์  8  เส้น  โดยแขวนกระดิ่งตามสายโซ่รวม  72  ลูก   ปัจจุบันองค์เจดีย์อยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก   เนื่องจากเหตุการณ์เกิดกบฎไท้เผ็งได้ถูกเผาทำลายเมื่อ พ.ศ. 2392
  


 กำแพงเมืองจีน  (The Great Wall of China)

     กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 332 - 339   โดยจิ๋นซีฮ่องเต้   เป็นกำแพงอิฐที่ยาวที่สุดในโลก   ซึ่งยาวประมาณ 2400 กิโลเมตร   เพื่อป้องกันการรุกรานจากชาวตาตาร์   กำแพงสร้างด้วยดิน  หิน  และก่ออิฐโดยรอบ   มีการสร้างป้อมปราการประมาณ  15,000  แห่ง   มีฐานกว้างประมาณ  20  ฟุต   ทางเดินกว้างประมาณ 12 ฟุต  สูงประมาณ  25  ฟุต  มีระฆังบอกเหตุประมาณ  20,000  หอ   ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า  10  ปี   โดยแรงงานของประชาชนนับล้านคนและมีผู้เสียชีวิตในระหว่างการสร้างประมาณหมื่นคน   ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอสมควร   ปัจจุบันกำแพงเมืองจีนได้รับการบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดเสียหาย   ซึ่งทำให้กำแพงเมืองจีนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสภาพสมบูรณ์สวยงาม
  


 กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์  (Stonehenge)

     กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์   มีอายุประมาณปลายยุคหินถึงต้นยุคบรอนซ์   ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบซาลิสเบอรี   ด้านเหนือของเมืองซาลิสเบอรี   ในมณฑลวิลไซร์   ห่างจากกรุงลอนดอนไป  10  ไมล์   ประเทศอังกฤษ   ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้นำมาวางไว้   และนำมาวางไว้เพื่อจุดประสงค์ใด   นักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าสร้างมาเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของมนุษย์ยุคนั้น   กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ประกอบไปด้วยก้อนหินทรงสูงขนาดใหญ่จำนวน 112 ก้อนวางตั้งเรียงเป็นรูปวงกลมซ้อนกันสามวง   บางก้อนล้มนอน   บางก้อนวางทับซ้อนอยู่บนยอด   วงหินรอบนอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง  100  ฟุต   มีน้ำหนักเป็นตันๆ   บริเวณที่ราบซาลิสเบอรีเป็นทุ่งโล่ง   ไม่มีภูเขา   และไม่ปรากฏว่ามีก้อนหินอยู่ในบริเวณใกล้เคียง   อย่างไรก็ตามในปี  พ.ศ.  2507  เจอรัลด์  เอส  เฮากินส์   นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้สันนิษฐานว่า   เป็นสถานที่สำหรับทำนายตำแหน่งของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับการเกิดฤดูกาลบนพื้นโลก  คือเป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นมาอย่างหยาบๆนั่นเอง
 


 สุเหร่าโซเฟีย  (The Mosgue of Hagia Sophia)

     สุเหร่าโซเฟีย   เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะกรรมกรีกและเปอร์เชีย หรือเรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบไบเซนไทน์ (Byzantine)   สุเหร่าโซเฟียมีจุดเด่นอยู่ที่ยอดโดมกลางวิหาร   การประดับประดากระจกหลายสีที่บริเวณเหนือหน้าต่างประตู   และเสาสลักตามแบบไปเซนไทน์ถึง  108  ต้นภายในตัววิหาร   สุเหร่าโซเฟียสร้างขึ้นมาราวคริสต์ศตวรรษที่  13
โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินแห่งอาณาจักรโรมันตะวันออก   ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ  17  ปี
เดิมเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนา  ณ  กรุงคอนสแตนติโนเปิล   ประเทศตุรกี   แต่กลับถูกชนชาติเติร์กบุกทำลาย   ต่อมาในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน   ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างวิจิตรงดงามด้วยเครื่องประดับตกแต่งที่มีค่าต่างๆ   โดยใช้เวลาในการสร้างนานถึงประมาณ  20  ปี   แต่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นทำให้แตกร้าวเสียหาย   ซึ่งได้รับการซ่อมแซมจนอยู่ในสภาพเดิมในเวลาต่อมา   พอหลังจากสมัยของจักรพรรดิจัสติเนียน   พระเจ้าโมฮัมเหม็ดที่  2   ซึ่งทรงนับถือศาสนาอิสลามได้เข้ามามีอำนาจเหนือตุรกี   ได้ดัดแปลงให้โบสถ์กลายเป็นสุเหร่าที่มีความงามทางสถาปัตยกรรมอีกแบบหนึ่ง

 

 หอเอนเมืองปีซา  (The Leaning Tower of Pisa)

     หอเอนเมืองปีซา   ตั้งอยู่ที่เมืองปีซา   ประเทศอิตาลี   เป็นหอทรงกระบอก  8  ชั้น   สร้างด้วยหินอ่อนสูง  181  ฟุต   เริ่มสร้างเมื่อค.ศ.  1174   แต่การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลงเมื่อก่อสร้างไปได้ประมาณ 4-5  ชั้น   เนื่องจากพื้นดินใต้อาคารเริ่มยุบลงจากการที่รากฐานของอาคารไม่มั่นคงพอ   อย่างไรก็ตามต่อมาได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยเมื่อปีค.ศ. 1350   ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของโครงสร้างด้านบนไปจากแผนผังเดิมเพื่อถ่วงดุลกับการเอียงของหอ โดยรวมระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น  176  ปี   แต่ตัวหอก็ยังเอนไปจากแนวตั้งฉากถึง  14  ฟุตปัจจุบันนี้ได้ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมข้างบนแล้ว   เนื่องจากว่าหอจะเอนลงเรื่อยๆ   ซึ่งบรรดาวิศวกรกำลังหาทางที่จะหยุดยั้งการเอนและอนุรักษ์ให้มีสภาพเอียงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชมไปอีกนานๆ   สำหรับหอเอนปิซานี้ภายในมีเสาหินอ่อนที่สลักลวดลายด้วยฝีมือจิตรกรชื่อดังแห่งยุคได้สลักลวดลายไว้สวยงามมาก   ณ  ที่หอเอนปิซาแห่งนี้เป็นที่ที่กาลิเลโอขึ้นไปทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแรงดึงดูดของโลก
  

 สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย
   (The Catacombs of Alexandria)

     สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย   มีชื่อเรียกว่า  คาตาโกมบ์   ตั้งอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย   ประเทศอียิปต์ เป็นสุสานฝังศพใต้ดินของกษัตริย์อียิปต์โบราณ   ไม่ปรากฎหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง เป็นสุสานของใคร   และสร้างเมื่อใด   ลักษณะของสุสานไม่เหมือนกับปีรามิดคือจัดสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดินขุดลึกเข้าไปในภูเขาหินทราย   ทำเป็นชั้นๆ   และมีช่องทางเดินกว้างประมาณ 3-4 ฟุตวกเวียนไปมาเป็นระยะทางหลายไมล์ภายในอุโมงค์บางตอนตกแต่งอย่างสวยงาม   ที่บรรจุดพระศพคือผนังอุโมงค์ที่เจาะเป็นช่องลึกเข้าไป   มีแท่นบูชาวางด้วยตะเกียงดวงเล็กๆแขวนไหว้ด้านหน้า ปัจจุบันสุสานแห่งอเล็กซานเดรียได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง